วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปธรรมะจากพระอาจารย์ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2553

คนที่จะเป็นนักปราชญ์ได้ ต้องมี สุ จิ ปุ ริ
สุ – สุตะ แปลว่า ฟัง
จิ – จิตะ แปลว่า ความคิด
ปุ – ปุจฉา แปลว่า ถาม
ลิ – ลิขิต แปลว่า เขียน

ความสุขของฆราวาสหรือคฤหัสถ์ มี 4 ประการ คือ
1. อัฐิสุขัง คือ ความสุขจากการมีทรัพย์ มีเงินทอง
2. โอคะสุขัง คือ สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์
3. อนานะสุขัง คือ สุขจากการไม่มีหนี้
4. อนวัชสุขัง คือ สุขจากการทำงานที่ดี สุจริต

ความสุขของฆราวาสหรือคฤหัสถ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ด้วยบุญรองรับ คือ
การทำทาน คือ การให้ การสงเคราะห์ การเสียสละ อานิสงค์จะทำให้มีเงินทอง มีความสุข เกิดให้ตระกูลสูง ร่ำรวย แต่หากมีความตระหนี่ คือ การไม่รู้จักการให้หรือไม่รู้จักการเสียสละ อนิสงค์จะทำให้มีความจน ขัดสน และยากไร้

หลักธรรมนำชีวิตให้มีแต่ความสุข คือ
1. ทำทานให้เป็นนิจ ทำให้รวย ฐานะมั่นคง ชีวิตดีขึ้น
2. รักษาศีลให้เป็นกิจ มีผิวพรรณวรรณะสดงามผ่องใส
3. ฝึกจิตให้ผ่องใส จะทำให้เกิดปัญญา

คนดีจะทำความชั่วไม่เป็น คนชั่วจะทำความดีไม่เป็น
การทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว ผลของกรรมนั้นจะตามติดตัวเราไปตลอด ทุกหน ทุกแห่ง ข้ามภพ ข้ามชาติ และคอยหาโอกาสส่งผล เพราะฉะนั้นเราจึงควรทำแต่กรรมดี สร้างบุญ บารมี ให้มากๆ บุญจะอยู่ในตัวเราทำให้มีแต่ความสุข

การใช้คำพูด
คำพูด หรือ วาจา มี 2 อย่าง คือ
1. ปิยวาจา คือ คำพูดที่ดี อ่อนหวาน ไพเราะเสนาะหู
2. ครุตวาจา คือ คำพูดที่หยาบคาย พูดสอดเสียด พูดนินทาว่าร้ายผู้อื่น
วาจาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก จึงควรใช้คำพูดที่ดีต่อกัน คือ ปิยวาจา

สรุป และเผยแพร่เป็นธรรมทานโดย
กัลฯ กิตติ ไตรรัตน์ และ กัลฯ กิ่งกาญจน์ สุดสังข์ We Success Club

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น