วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทำอย่างไรให้คนรัก (สังคหวัตถุ 4)

1. การให้ (ทานวัตถุ)
ผู้ให้ จะเป็นผู้ได้ตลอดเวลา ให้มองกว้างๆ มองไกลๆ จะพบว่า เมื่อเราให้สิ่งใดไป สิ่งนั้นจะมีมูลค่ามากกว่าที่เราซื้อมา เพราะเมื่อเราเป็นผู้ให้ นอกจากวัตถุที่ให้ไปแล้ว เรายังใส่น้ำใจเข้าไปอีกด้วย ซึ่งนับเป็นมูลค่ามหาศาล
การให้อภัย ปรับที่ใจเรา ก็ถือเป็นการให้ คิดดูว่าแม้กระทั้งตัวเราเอง ตัวเรายังไม่ชอบใจตัวเองทั้งหมดเลย บางครั้งเรายังนึกว่าหรือโทษตัวเองในบางครั้งเลย แล้วคนอื่นจะทำให้เราพอใจทุกเรื่องได้อย่างไร และอย่าแก้ปัญหาด้วยกำลัง
จะให้อภัยได้ จะต้องรู้จักเหตุและผลว่า ทุกคนมีทั้งข้อดีข้อเสีย และแต่ละคนผ่านประสบการณ์มาหลายอย่าง
คนยิ้มแย้ม แจ่มใส คนไปที่ไหน ก็มีแต่คนรัก

2. พูดจาอ่อนหวาน (ปิยะวาจา)
ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ใช้เพียงคำพูดที่กลั่นกรองมาจากใจ ใครรู้จักปรับให้ดี พูดให้ตรงใจพูดรับ
คำพูดมี 2 แบบ
· คำหยาบ คือ คำพูดที่กดใจของผู้ฟังต่ำลง
o คำด่า
o คำประชด (พูดยกนอเกินเหตุ, พูดกระทบจิตใจ)
o คำแดกดัน (พูดเสียดสี)
· คำพูดที่ช่วยยกใจ ผู้ฟังให้สูงขึ้น
ใครที่สามารถพูด และยกใจผู้ฟังให้สูงขึ้นได้ ก็จะเป็นที่รักของ เพราะทุกคนต้องการการให้เกียรติ์ รู้สึกว่าได้รับการ ยกย่อง ยอมรับ “การจะมัดของ เราต้องใช้ของอ่อนมัด ของแข็งมัดไม่อยู่ เช่นเดียวกัน จะมัดใจคนได้ ก็ต้องใช้คำพูดที่อ่อนโยน”
เมื่อเราพูดคำพูดที่ช่วยยกใจคนอื่น มันก็จะช่วยยกใจตัวเองไปด้วย ผิวพรรณดี มีน้ำมีนวล แต่ใครที่พูดกดใจผู้อื่นให้ต่ำลง ตัวของเขาเองก็จะมีใจต่ำลงเช่นกัน

3. ทำตนให้เป็นประโยชน์ (อัตถจริยา)
แบ่ง 2 ประเด็นคือ
· ตัวเราเองต้องทำตัวให้เป็นประโยชน์เสียก่อน เพราะของที่มีประโยชน์ย่อมเป็นที่รักของผู้อื่น
จะฝึกได้ก็ต้อง “มีสติ กำกับกาย กำกับใจ และทำอะไรให้ทำให้เต็มที่ ให้สุดความสามารถ” และเมื่อเราทำอะไรสุดความสามารถแล้ว เมื่อทำครั้งต่อไป มันจะพัฒนาไปได้
· เมื่อเราเป็นคนมีประโยชน์แล้ว ก็ต้องเอาความสามารถสร้างประโยชน์ให้คนอื่นด้วย
หากเราสร้างประโยชน์เพื่อผู้อื่นได้ ก็จะเป็นที่รักของผู้อื่น

4. เป็นผู้วางตัวสมกับฐานะและบทบาทของตัวเอง (สมานัณตตา)
รู้บทบาทหน้าที่ ทำให้สมกับหน้าที่ของตนเอง ทำอะไรให้พอดีๆ จะใส่เสื้อผ้าต้องพอดีตัว จะทำอะไรก็ต้องพอดีตัวเช่นกัน อย่ายกตัวเอง เมื่อเราวางตัวดี มนุษยสัมพันธ์ก็จะดียิ่งขึ้น
ต้องเข้าใจว่าคนแต่ละคนจะมีลักษณะพิเศษของตัวเอง มีความชอบที่แตกต่างกัน เราต้องเข้าใจเขา และปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับจริตของเขา
และต้องพิจารณาด้วยว่าตัวเขาเอง ต้องการให้เราอยู่ในฐานะไหน? เช่นหากคนที่คุณรู้จักเป็นครู เขามีนิสัยชอบสอน เราก็ต้องฟังเขาบ้าง วางตัวให้รู้ว่าเขาต้องารให้เราเป็นอะไร แล้วจะครองใจผู้อื่นได้ ไม่ใช้คิดว่าเราจะทำอะไรก็ได้
เราคือใครฐานะบทบาทแค่ไหน เขาคือใครมีฐานะบทบาทแค่ไหน วางตัวให้เหมาะสม

ทุกความคิดเห็น ถือเป็นขุมทรัพย์ที่มีค่ามหาศาลนะครับ มีข้อมูลเพิ่มเติมข้อเสนอแนะอะไรก็ ร่วมแบ่งปันกันนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น