วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แบ่งปันเรื่องราวการทำความดี

ร่วมเป็นหนึ่งในพลังสร้างสรรค์
ความดีเพียงน้อยนิด เมื่อหลอมรวมกันย่อมก่อให้เกิดพลังอันยิ่งใหญ่
เปรียบเหมือนเชื้อไฟ ที่จะยังแสงสว่างให้แก่คนรอบข้าง และทำให้เกิดแสงสว่างในวงกว้าง
ร่วมเป็น 1 ในแสงสว่างแห่งความดีร่วมกันครับ

แบ่งปันเรื่องราวของคุณที่นี่
http://www.facebook.com/pages/cheux-wa-khn-thiy-kein-lan-thakhwam-di-thuk-wan-tae-mi-di-saedngxxk/172145906158571

เจาะจุดแข็ง การพัฒนาจุดแข็งของตนเพื่อความสำเร็จในชีวิต

การเจาะจุดแข็ง
เรื่องของจุดแข็งและจุดอ่อนในแต่ละคนนั้น ได้มีผู้ที่ศึกษาและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องนี้ไว้หลายท่าน แต่ในที่นี้จะขอนำงานเขียนของ MARCUS BUCKINGHAM และ DONALD O. CLIFTON, Ph.D. มาคุย



เนื่องจากว่างานของสองท่านนี้น่าสนใจ ซึ่งร่วมรวมข้อมูลมากว่า 30 ปี และผู้คนที่เกี่ยวข้องก็ประมาณ 2 ล้านคน มีการสัมภาษณ์ในระดับผู้บริหารอีกกว่า 80,000 หมื่นคน จากการที่เขาได้ทำงานกันมาขนาดนี้ ก็ทำให้เขาพบว่า ความผิดพลาด 2 อย่าง ของบริษัทหรือองค์กร ก็คือ มีสมมุติฐานที่ผิดอยู่ 2 ข้อคือ

1. เราทุกคนเรียนรู้ในเรื่องใดก็ได้แทบทุกเรื่อง
2. การพัฒนาที่ดีที่สุดคือทุ่มความสนใจที่จุดอ่อน

โอกาสที่จะประสบความสำเร็จนั้นพบว่า พรสวรรค์ของแต่ละคนมีความยั่งยืน และมีความพิเศษเฉพาะตัว ถ้าหากได้มุ่งเน้นพัฒนาจุดแข็งของคนๆ นั้นแล้ว มันจะเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลที่สูงกว่า เพราะเขาเคยทำการสำรวจในคน 1.7 ล้านคน 101 บริษัท 63 ประเทศ พบว่าในแต่ละวันได้เอาศักยภาพที่ดีทีสุดของตัวเองมาทำงาน เพียงแค่ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง โดยจะขอนิยามคำศัพท์ต่างๆ ดังนี้

จุดแข็ง คือ การทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้แทบสมบูรณ์แบบอย่างสม่ำเสมอ เราจะถือว่าเป็นจุดแข็ง ได้เมื่อสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอจนคาดหวังได้

จุดอ่อน ก็คือ อะไรก็ตามที่มาขัดขวางการปฏิบัติให้เป็นเลิศ

พรสวรรค์ มีคุณสมบัติอย่างน้อย 4 ข้อ คือ 1. ชอบทำ 2. มีความปรารถนา 3. เรียนรู้ได้เร็ว 4. ทำแล้วรู้สึกดี



ส่วนในเรื่องของจุดอ่อน ใครได้ยินก็อยากจะกำจัดทิ้งเสีย แล้วเราจะมีกลยุทธ์ในการกำจัดจุดอ่อนได้อย่างไร


1. ทำดีขึ้นอีกนิด อย่าไปคาดหวังว่าเราจะแก้ทุกอย่างภายในวันเดียว เพียงแค่ว่าเราทำดีกว่าเดิมอีกนิดเดียว
2. ลองใช่ความคิดสร้างสรรค์ บางทีอาจจะได้อะไรใหม่ๆ
3. ถ้ามันต่อต้านกันก็เอาจุดแข็งมาลบจุดอ่อน
4. ลองหาคนที่จะมาเป็นคู่คิด
5. ถ้าทำ 4 ข้อ ทั้งหมดแล้วยังไม่ดีขึ้นก็เลิกทำ อย่าไปดันทุรังเลย

ส่วนจุดแข็งนั้นจะมีลักษณะเฉพาะคือ
1. เราสามารถที่จะคาดหวังผลได้
2. จุดแข็งจะมีลักษณะเฉพาะจริงๆ
3. ถ้าเราอยากจะเป็นเลิศ เราต้องเพิ่มพูนจุดแข็ง มากกว่าที่จะไปลบจุดอ่อน

จุดแข็งในที่นี่มีทั้งหมด 34 ประการด้วยกันคือ

นักจัดการ
ความเชื่อ
บัญชาการ
การสื่อสาร
การแข่งขัน
ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยง
ความยุติธรรม
การคำนึงถึงสิ่งรอบข้าง
ระมัดระวัง
นักพัฒนา
ระเบียบวินัย
ความเห็นอกเห็นใจ
เป้าหมายชัดเจน
อนาคต
ความกลมเกลียว
ความคิด
ต้อนรับ
ความเป็นปัจเจกบุคคล
ป้อนข้อมูล
นักคิด
ใฝ่รู้
ความเป็นเลิศ
มองโลกในแง่ดี
สร้างสัมพันธ์
การมีความรับผิดชอบ
ปรับปรุงแก้ไข
ความเชื่อมั่นในตนเอง
ความสำคัญ
เจ้ากลยุทธ์
ชนะใจ

ทั้งหมด 34 ข้อนี้ เราไม่ต้องไปคาดหวังว่าเราจะมีทั้ง 34 ประการ เพราะเราจะมีแค่ 5 ข้อ เท่านั้น และเราก็พัฒนา 5 ข้อของเราให้เก่งยิ่งๆ ขึ้น ก็จะทำให้เราเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป

จุดอ่อนในที่นี่มีด้วยกัน 2 แบบ คือ
1. จุดอ่อนในเรื่องของความรู้ความสามารถ
2. จุดอ่อนในด้านความประพฤติ ในด้านนี้เพิกเฉยไม่ได้

แม้พระอรหันต์ยังต้องฝึกตัวเองต่อเนื่อง อย่างเช่นพระสารีบุตร ด้วยความที่ว่าท่านเคยเกิดเป็นลิงถึง 500 ชาติ พอเจอหนองน้ำก็กระโดดข้าม แทนที่จะเดินข้ามไป ตอนกลางคืนก็ไปจำวัดอยู่บนต้นไม้

การฝึกจุดแข็งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เวลาฝึกหรือสอนใครท่านก็ใช้จุดแข็งของแต่ละคน ไม่ได้ดูแค่ตาเห็น แต่ท่านระลึกชาติไปดูด้วยว่าคนๆ นี้เคยเกิดเป็นอะไรมา อัธยาศัยไปทางด้านไหน ต้องพูดยังไง สอนยังไงถึงจะโดนใจเขา



อย่างเช่น เมื่อท่านไปโปรด ชฎิล 3 พี่น้อง ที่ชอบบูชาไฟ จดจ่ออยู่กับไฟ พระองค์จึงเลือกที่จะเทศนาอาทิตตปริยายสูตร เมื่อฟังธรรมจบจึงบรรลุเป็นพระอรหันต์เลย เพราะมันโดนใจ หรือถ้าเป็นการสอนในสมัยใหม่ ที่เรียกว่า Child Center คือ การจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สอนให้ตรงใจเขาก็จะเข้าใจได้ง่าย

ดังนั้นถ้าเราจะสอนตัวเราเองก็เช่นกัน เราต้องเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งของเราเองให้ดี แล้วก็ปรับนิสัยตัวเองให้ดี ฝึกลักษณะเด่นของเราเองให้ดี เต็มที่ยิ่งขึ้น ส่วนจุดอ่อนให้แง่การงาน ก็ไม่ต้องถึงกับไปทุ่มเทเวลาทั้งหมดอยู่กับจุดอ่อนจนกระทั่งละเลยจุดแข็ง เพราะฝึกจุดอ่อนฝึกแล้วมักจะไม่ค่อยได้ดีเท่าไหร่ แต่ให้ทุ่มเทจุดแข็งให้เยอะๆ แต่จุดอ่อนเรื่องความประพฤติก็ต้องตั้งใจเอาจริงเอาจังในการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น แล้วเอาเวลามาทุ่มเทจุดแข็งเพื่อเอาไปทำงานที่เหมาะสมกับเรา อย่างนี้ละก็เราก็จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างดีเยี่ยม

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สามัคคีกถา

การจะพูด หรือทำอะไร ให้ใช้หลักธรรมเป็นกฎเกณฑ์ อย่าเอาความคิดของตัวเองมาอ้าง หลวงพ่อทัตตชีโว เคยพูดเอาไว้ว่า “อย่าเอาความคิดของตัวเองมาอ้าง ถ้าจะเป็นนักพูดที่ดี” เพราะนักคิดมีเยอะ ต่างคนต่างก็คิดเอาตามใจของตนเอง เป็นความคิดที่เคลือบแคลงไปด้วยกิเลส ควรยึดเอาตามในพระไตรปิฎก เพราะทุกเรื่องจะเป็นเรื่องจริง

การจะทำอะไรก็ตามจำเป็นจะต้องมีสติ และเหตุผล เพื่อจะได้เป็นภูมิคุ้มกันของหมู่คณะ ไม่ให้เกิดความแตกแยก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงมูลเหตุแห่งการวิวาท ความแตกแยกสามัคคีในหมู่คณะมี ๖ ประการใหญ่ ( ที. ปาฏิ. ๑๑/๓๑๘) มีความย่อว่า
๑. เป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธ
๒. เป็นคนลบหลู่ ตีตัวเสมอ ไม่รู้จักบทบาท หน้าที่ของตนเอง
๓. เป็นผู้มักริษยา มีความตระหนี่
๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา
๕. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิดธรรมนองคลองธรรม หรือ มีมิจฉาทิฐินั้นเอง
๖. เป็นผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน คือ ไม่ยืนอยู่บนหลักธรรม ไม่มั่นคงในหลักธรรม มักถือรั้น คลายได้ยาก

นอกจากนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสหลักธรรมเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีปรองดอง สมานฉันท์และความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวของหมู่คณะ โดยเป็นเครื่องทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม ได้เป็นที่รักที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทบาทหมางกันชื่อว่า “สาราณิยธรรม ๖” (ที. ปาฏิ. ๑๑/๓๑๗) ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลาย ดังต่อไปนี้
๑. ประพฤติ “กายกรรม” ประกอบด้วยเมตตา
๒. ประพฤติ “วจีกรรม” ประกอบด้วยเมตตา
๓. ประพฤติ “มโนกรรม” ประกอบด้วยเมตตา
๔. มีอะไรก็แบ่งปันกันและกัน
๕. มีศีลเสมอกัน
๖. มีทิฐิเสมอกัน

เพราะงานพระพุทธศาสนาขยายไปเร็วมาก จนบางคนตั้งตัวไม่ทัน เป้าหมายการขยายงาน 208 ประเทศ งานในประเทศนี้ก็ดูเล็กไปเลย แต่แม้งานจะดูเล็ก แต่ก็จะยิ่งพลาดไม่ได้ ถ้าเราไม่มีความสามัคคีซึ่งกันและกัน งานก็คงไม่สำเร็จ
งานต่างๆจะสำเร็จได้ด้วยดีนั้น จะต้องมี สังคหวัตถุ ๔ (ทาน, ปิยะวาจา, อตัถจริยา, สมานัตตตา) เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ ต้องเป็นผู้ให้ พูดกันเพราะๆ ทำตัวให้เป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน อย่างเสมอต้นเสมอปลาย นั้นเอง
เวลามองคนให้มองตัวเองให้แตก เอาธรรมเป็นกฎเกณฑ์ดู จริตมี ๖ จริต มูลเหตุแห่งความแตกแยกมีอยู่ เราต้องรู้เท่าทันว่าเราอยู่กลุ่มไหน

“มีก้อนหินขนาดใหญ่ก้อนหนึ่งวางอยู่กลางถนน เด็กคนแรกเดินมาเห็น แล้วก็เดินผ่านไป เด็กคนที่ ๒ เดินมาเห็น ก็บ่นว่าใครเอามาวางไว้เนี้ย! แล้วก็เดินผ่านไป เด็กคนที่ ๓ เดินมาเห็น แล้วก็ไปพาเพื่อนๆ มาช่วยกันเคลื่อนหินก้อนนั้นออกไป ใครสันจรไปมา จะได้สะดวก”

คนมักแก้ไขปัญหาแบบนี้
๑. ปล่อยผ่าน ไม่สนใจ
๒. แสดงความคิดเห็น แต่ไม่ลงมือแก้ไขอะไรเลย
๓. ไม่บ่นอะไร แต่ลงมือแก้ไขทันที

เราจะต้องมีวิธีการที่จะชนะกิเลสในใจของเราเองให้ได้ เช่น เมื่อโมโห ก็ไปนอนเพื่อให้อารมณ์เย็นลง ค่อยมาทำอะไรต่อเป็นต้น
ในการจะทำงานด้วยกัน หลวงพ่อทัตตะได้แนะนำไว้ว่าจะต้อง “แนะให้ทำ นำให้ดู อยู่ให้เห็น” จึงจะได้ผลดี
ที่สำคัญเราจะทำงานกับคนหมู่มาก จำเป็นจะต้องเตรียมตัวรับกับจริตทั้ง ๖ ให้ได้ เพราะเขาอาจจะเป็นทีมของเราในภายหลังก็ได้... เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี สาราณิยธรรม ๖ ให้ตลอดเวลา

“สร้างบรรทัดฐานคนด้วยธรรมะ อย่าได้เอาจริตของตัวเราเป็นตัวตัดสิน ถ้ามีปัญหาก็ให้ใช้ธรรมะแก้ไข”

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

“ความรู้พื้นฐานของผู้ทำสมาธิ” สรุปพระธรรมเทศนา วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม 2553

สิ่งที่สำคัญของนักปฏิบัติธรรมคือ “ความคิด”

คนทั่วไปชอบตั้งกำแพงไว้ก่อน ตั้งกำแพงใจว่าจะต้องเป็นแบบนั้น แบบนี้ ถ้าไม่ได้เป็นอย่างที่คิด แปลว่าไม่ใช่ ถ้าเรายังไม่เข้าใจตรงนี้ อย่างน้อย 10 ปี เราจะนั่งธรรมะไม่ไปไหนเลย!!!

การฝึกสมาธินั้นต้องใช้ใจเห็น แต่ปกติมนุษย์ใช้ตาเห็น... เวลาที่เราหลับตาแล้ว เราคิดว่าไม่เห็นอะไร อย่างนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเราติดว่าจะต้องเห็นชัดเหมือนที่เรามองเห็นด้วยตาของเรา และเราไม่คุ้นที่จะใช้ใจมอง... แต่ความเป็นจริงนั้น เราใช้ใจเห็นบ่อยๆ.. อย่างเช่นตอนฝัน

มาตรฐานการมองของตน กับมาตรฐานการเห็นของใจ จะเอามาเทียบกันไม่ได้... เราสามารถใช้ใจมองได้ชัดมากกว่าที่ตามมองเห็นได้หลายเท่านัก แต่การมองเห็นด้วยใจมันจะเริ่มจากน้อยๆ ก่อน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหมือนบ้านที่เราคุ้นเคย นึกครั้งใดก็ย่อมเห็นได้ชัดเจนในใจ

ถ้าเราไม่มั่นใจว่าการนึก คือ การเห็นด้วยใจแล้ว เราก็จะไม่ก้าวหน้า... เวลาที่เราหลับตาแล้วมืด คือการมองด้วยตา แต่ในขณะที่หลับตา ให้ใช้ความรู้สึก นึกถึงภาพองค์พระ แม้ไม่ชัด แม้ชั่วครู่ ก็จะถือว่าได้เห็นด้วยใจแล้ว

เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่า... “ถ้าเรานึกได้ ก็คือการเห็นด้วยใจแล้ว”

จะฝึกสมาธิ จะต้องรู้จักมองด้วยใจเสียก่อน แล้วค่อยๆ นึกให้ได้บ่อยๆ ต่อเนื่อง ก็จะเกิดความคุ้นเคยและนั่งธรรมะได้ดีขึ้น
การเห็น กับ การนึก คือสิ่งเดียวกัน ให้นึกว่าตัวเรากับองค์พระเป็น 1 เดียวกัน.. นึกเหมือนว่า 2 คนอยู่ในร่างเดียวกัน ต้องคิดแบบพระ พูดแบบพระ ทำแบบพระ องค์พระคือตัวเรา ตัวเราคือองค์พระ

การพูดคือการอธิษฐานจิต ดังนั้นเราต้อง คิดดี พูดดี ทำดี เพื่อให้จิตเราละเอียดยิ่งขึ้น สิ่งที่เราต้องหมั่นทำบ่อยๆ คือ การเอาใจไปตั้งไว้ ณ ที่ตั้งของใจ เหมือนโชเฟอร์ ที่จะต้องอยู่ในที่คนขับ รถจึงจะขับเคลื่อนไปได้
การนั่งธรรมะ หากตั้งใจมาก ก็เครียด ดังนั้นไม่ต้องตั้งใจมาก แต่ต้องตั้งใจมั่น แต่ถ้าหากในบางครั้งเราเกิดลืมที่จะวางใจ ณ ที่ตั้งของใจแล้ว ก็ให้ช่างมัน ตั้งใจทำปัจจุบันต่อไปไม่ต้องซีเรียส

พื้นฐานของนักปฏิบัติธรรมทุกคนต้องรู้ คือจะต้องยึดศูนย์กลางกายให้ได้ตลอดเวลา และใจเราจะค่อยๆ ละเอียด ถ้าเราไม่เอาใจจรดศูนย์กลางกาย คือ เราประมาทอยู่

“เป้าหมายชีวิต" สรุปจากพระธรรมเทศนา วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม 2553

ทุกคนเกิดมาล้วนมีผังชีวิตของตนเอง พระอาจารย์เองก็มีผังบวชมาก่อน เพราะตั้งแต่เป็นเด็กๆ ก็มีความคิดที่จะบวชอยู่แล้ว มีใจที่รักพระพุทธศาสนาเป็นทุนเดิม เข้าวัดพระธรรมการมาเพราะต้องการพิสูจน์ เพราะตอนนั้นกำลังแสวงหาที่เรียนภาวนาอยู่ และเพื่อนบอกว่าที่วัดพระธรรมการเป็นพุทธพาณิชย์ จึงมีความคิดที่จะพิสูจน์ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็จะเผาวัดเสียเลย

และด้วยความที่เป็นคนที่มีความสงสัยมาตั้งแต่เด็กแล้วว่า “คนเราเกิดมาทำไม?” เพราะคิดว่าคนเราถ้าจะทำอะไรก็จำเป็นที่จะต้องรู้วัตถุประสงค์เสียก่อน ซึ่งพอมาวัดพระธรรมการครั้งแรกก็เจอกับข้อความว่า “เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี” แต่ก็ยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ แต่ข้อความที่รู้สึกสะดุดใจมากๆ คือ “ธรรมกายคือเป้าหมายชีวิต” ก็เลยมีความต้องการจะรู้ให้ได้ว่าใครเป็นคนพูดคำนี้ ทำไมถึงกล้าที่จะให้คำจำกัดความของเป้าหมายชีวิตของมนุษย์ได้ว่าคือ “ธรรมกาย” ซึ่งก็ได้ตั้งใจไว้ว่า ถ้าไม่รู้จักคำนี้ดีพอ ไม่ได้พิสูจน์ ก็จะไม่ออกจากวัด....


เข้ามาก็ได้บวชในโครงการอบรมธรรมทายาทภาคฤดูร้อน ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ซึ่งรู้สึกว่าเป็น 2 เดือนที่มีคุณค่ากับชีวิตมากกว่า 20 ปี ที่ใช้ชีวิตอยู่ข้างนอกเสียอีก เมื่อจบโครงการก็จึงได้อยู่ศึกษาธรรมะกับหลวงพ่อต่อมาอีก จนได้เข้ามาช่วยงานในวัดมากมาย ทั้งการไปเผยแพร่ธรรมะ เป็นรุ่นบุกเบิกในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็ต้องบอกว่างานของวัดพระธรรมการนั้น เอางานเป็นเป้าหมาย แล้วค่อยหาทุนทำ ซึ่งแตกต่างจากทางโลกที่จะต้องตั้งงบก่อนแล้วค่อยทำงาน ซึ่งก็เป็นการทำงานที่ยากมากๆ แต่ก็ทำอย่างทุมเท เต็มที่ เต็มกำลัง จนสำเร็จ

ด้วยบุญที่ทุมเทเอาชีวิตเป็นเดิมพัน พอบุญส่งผล มันก็มาเร็ว มาแรง เหมือนรถที่วิ่งได้รอบ ทำอะไรต้องทำแบบสุดๆ อย่ายั้ง แล้วพอเวลาที่เรานั่งธรรมะ พอหลวงพอบอกว่าให้ทุ่มลงในกลาง เราจะเข้าใจ ถ้าเราเคยทุมในงานหยาบมาแล้ว ถ้านั่งอย่างเดียว ไม่มีบุญหยาบช่วย ก็ไปไม่ถึงไหน งานหยาบก็ต้องละเอียดด้วย งานละเอียดจึงจะละเอียดได้

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

บุญ

หากเราจะต้องตาย!!! ถามว่า... วันนี้เรานึกภาพองค์พระออกไหม?...... บางคนยังบอกว่า “โอ๊ย” รูปสวย กลิ่นหอม เสียงเพราะ รสอร่อย ฯลฯ เมื่อเราใกล้สิ้นอายุขัย... มันไม่ช่วยอะไรเราได้เลย

สิ่งที่เราทุ่มเทแสวงหามาทั้งชีวิต เวลาใกล้ตายมันไม่ได้ช่วยอะไรเลย ไม่ได้เป็นที่พึ่ง ไม่ได้เป็นที่ระลึก แม้จะมี ลูกที่ดี ครอบครัวที่ดี มีอำนาจ มีบริวาร ก็ไม่ใช่ที่พึ่ง เปรียบเสมือนถ้าตัวเราตกลงไปในทะเล จะเกาะฟองน้ำ เกาะเกลียวคลื่น ก็หาใช่ที่พึ่งไม่... จะต้องไปถึงเกาะเท่านั้น เช่นเดียวกัน ที่พึ่งของชีวิตที่แท้จริง คือ “การได้เข้าถึงพระภายใน”

การเข้าถึงพระภายใน หมายถึง บุคคลผู้ถือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ซึ่งจะทำให้เห็นอริยสัจ ว่าเป็นที่พึ่งอันสูงสุด
ถ้าเข้าถึงพระภายใน แม้ใกล้ตายก็ไม่กลัว แต่ถ้ายังไม่เข้าถึง ก็จะต้องมีบุญ เข้ามาช่วย... ก่อนตาย เรานึกถึงบุญออกไหม?
หากจะตายก็ต้องมีบุญช่วย จะไปโลกหน้าก็ต้องมีบุญเพื่อให้มีทรัพย์สมบัติ วิมาน บริวารมากมาย ซึ่งทรัพย์สมบัติต่างๆ ที่เรามีอยู่ ไม่สามารถบรรทุก ขนไปยังโลกหน้าได้เลย ถ้าจะนำไปได้ จะต้องนำมาเปลี่ยนเป็นบุญเท่านั้น จึงจะเป็นสมบัติของเราติดตามตัวไปในโลกหน้า

“บุญ” จะประคับประคองเราไปทุกชาติ แม้แต่ สัตว์นรก เปรต สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหม ก็ต่างต้องการบุญด้วยกันทั้งนั้น
เราเกิดมาสร้างบารมีจริงๆ จะต้องกล้าสร้างบารมี ต้องเอาบุญติดตัวไปมากๆ ทั้ง “ก่อนทำ”, “ขณะทำ” และ “หลังทำ”
“แม้มืดตื้อมืดมิด ก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรม” แต่หาก กินเหล้า นอน ฯลฯอยู่เฉยๆ แล้วมืดตื้อก็ไม่มีทางเข้าถึงธรรมได้ จะเข้าถึงธรรมได้ จะต้องตั้งใจปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้ว แม้มืดตื้อมืดมิดก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรมได้ ทั้งหมดไม่มีใครเสกได้ ต้อง “ทำเอง”

“รสแห่งธรรมเลิศกว่ารสทั้งปวง”.... เราชอบกินอะไรบ้าง? ถ้าให้เรากินของที่เราชอบนั้นเพียงอย่างเดียว กินทุกวัน ไม่กินอย่างอื่นเลยเอาไหม? ไม่นานเราก็คงเบื่อ เพราะมันไม่ใช่รสอันเลิศ แต่ธรรมะนั้น แม้ได้รับเมื่อไหร่ย่อมไม่เบื่อ

ถ้าเรายังเข้าไม่ถึงพระรัตนตรัย ก็ต้องทำบุญไว้ให้มากที่สุด ต้องทำบุญแบบมี วิริยะ (มาจากคำว่า วีระ คือ ความกล้าหาญ ไม่กลัว) คนที่ไม่กล้าบอกบุญคือคนที่กลัว...

ดังนั้นตัวเราจะต้องมีความกล้าที่จะเอาบุญ
หลายๆ คนกล้า และเสียสละเพื่อที่จะทำบาป เราจะทำบุญก็ต้องกล้า ต้องเสียสละเช่นกัน คนที่เขาชวนกินเหล้าเขายังไม่เกรงใจกันเลย เราจะชวนคนทำบุญจะเกรงใจทำไม? เราต้องทำให้ปลื้ม ให้มีความปิติ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับ ปัญจวคีย์ทั้ง 5 ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหมดจงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขของชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ” ซึ่งพระพุทธเจ้าให้ทรงออกเผยแพร่ พระธรรมคำสอนเพราะยังมีคนอีกมากที่ยังมีโอกาสแห่งการได้บรรลุธรรม และหากไม่ออกไปทำหน้าที่ก็จะทำให้เขาเหล่านั้นเสียโอกาส ที่จะทำให้เขาได้บุญที่ควรจะได้ ทำให้เขาเหล่านั้นเสียโอกาสบรรลุธรรมที่เขาควรได้บรรลุเป็นต้น คนที่จะทำบุญมีอยู่แล้วเขารอเราไปหา ถ้าเราไม่ไปเขาก็จะเสียโอกาส บอกบุญให้เต็มที่ กำลังบุญจะได้ใหญ่โต

แค่เราไม่กลัวซะอย่าง... เราก็จะทำได้...
ถามว่ามันยากไหม? ตอบว่า “ใช่”!!!!.................. แต่เราทำได้

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปพระธรรมเทศนา จากพระอาจารย์ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2553

เรื่อง “พลิกวิกฤตชีวิตด้วยบุญ” โดยพระอาจารย์บุญลือ (หัวหน้าศูนย์ฉะเชิงเทรา)
พระอาจารย์เข้าพรรษาที่ 14 ในปีนี้แล้ว โดยพรรษาแรกพระอาจารย์รับพรพระมาว่าจะบวชให้ครบ 10 พรรษา แต่ยังไม่มีศรัทธาเต็มเปี่ยม นั่งสมาธิก็ฟุ้งตลอด เป็นคนชอบลองของ ชอบพูดมากและพูดจาไม่ค่อยเพราะ อยู่มาวันหนึ่งในอารมณ์สบาย ๆ ก็หยิบดวงแก้วมาทำสมาธิ ก็ได้เห็นองค์พระผุดขึ้นมาเป็นสาย สว่างไสว พระอาจารย์รู้สึกดีมาก มีความสุขสุด ๆ ไร้ข้อกังหาใดๆ ในใจอีกเลย จึงตั้งใจจะบวชต่อไปเรื่อยๆ หลังจากนั้นพระอาจารย์ก็ได้ไปทำการขอขมาต่อคุณครูไม่ใหญ่ที่เมื่อก่อนเคยคิดสงสัยในตัวท่าน พอพรรษาที่ 9 จะครบ 10 พรรษาแล้วตามที่เคยรับปาก ก็เริ่มจะมีเหตุให้รู้ตัวว่าจะต้องจากโลกนี้ไปในอีกไม่นานนี้อย่างแน่นอน แต่พอถามตัวเองว่าถ้ามรณภาพตอนนี้เรานึกถึงบุญออกรึยัง โดยคำตอบที่ได้คือพระอาจารย์ยังนึกถึงบุญใหญ่ในชีวิตที่ปลื้มปีติไม่ออกเลย เพราะฉะนั้นจะจากโลกไปตอนนี้ไม่ได้ จะต้องสู้และอยู่ต่อไปเพื่อสร้างบุญใหญ่ สร้างบารมีให้มากๆ ให้ได้ก่อน เมื่อตัดสินใจได้แล้ว พระอาจารย์ใช้เวลาครึ่งปีในการเก็บหอมรอมริบเพื่อสร้างพระธรรมกายประจำตัวองค์แรกสำเร็จในปี 2549 และก็ตั้งใจจะสร้างเพิ่มอีกทุกเดือนปัจจัยไม่เอื้ออำนวย แต่ก็ไม่ย่อท้อ เมื่อพระอาจารย์ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่เข้าไว้แล้ว เอาบุญเป็นที่ตั้ง พยายามจนทำให้ได้ จนในที่สุดสำเร็จเป็นอัศจรรย์ ตอนนี้พระอาจารย์สร้างพระธรรมกายประจำตัวไปแล้วทั้งหมด 80 องค์ เป็นเจ้าภาพเลี้ยงข้าวพระเดือนละ 5,000 บาท จำนวน 1,000 รูป บุญที่พระอาจารย์สร้างมาเหล่านี้ได้ช่วยให้พระอาจารย์รอดพ้นจากวิกฤตชีวิตหลายครั้ง

ตัวอย่างเช่น

เหตุการณ์ที่ 1 รถตู้พลิกคว่ำ โดยในรถนอกจากคนขับและคนนั่งข้างคนขับแล้ว พระอาจารย์ไล่คนอื่นลงจากรถไปหมด จึงมีเพียงพระอาจารย์รูปเดียวที่นั่งอยู่ในรถตู้ด้านหลังคันนั้น แรงอัดจากอุบัติเหตุทำให้รถตู้ด้านข้างทั้งสองข้างและด้านล่างยุบตัวเข้ามาหาพระอาจารย์ ทำให้ได้รับบาดเจ็บจนต้องไปให้หมอจัดเรียงกระดูกต้นคอให้เป็นประจำ ส่วนสองคนที่นั่งข้างหน้ารถไม่เป็นอะไรเลย เพราะทั้งคู่คาดเข็มขัดนิรภัยไว้ด้วย แต่อย่างไรเมื่อดูจากสภาพรถแล้ว พระอาจารย์ก็รอดชีวิตมาได้อย่างน่าอัศจรรย์

เหตุการณ์ที่ 2 ไฟไหม้จีวรและต้นขาของพระอาจารย์ เหตุเกิดขึ้นเพราะความประมาทและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตอนนั้นกำลังจะจุดไฟทำโคมยี่เป็ง แต่พระอาจารย์ไปเร่งเครื่องทำให้เกิดความร้อนทั่วบริเวณที่พระอาจารย์ยืนอยู่ เมื่อจุดไฟจึงเกิดประกายไฟอย่างฉับพลัน ทำให้ไฟไหม้อย่างรวดเร็ว และลุกไหม้จีวรจนต้องเปลื้องจีวรออกและรีบใช้ผ้าดับไฟ จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้พระอาจารย์เดินไม่ได้จนต้องนั่งรถเข็นไปหลายเดือน เนื่องจากหนังกำพร้าที่เท้าหลุดลอกออกเพราะไฟลวก และปัจจุบันนี้ก็ยังมีรอยแผลให้เห็นเป็นเครื่องย้ำเตือนให้มีสติและอย่าประมาทอยู่ตลอดเวลา

หากไม่มีบุญที่ได้สั่งสมมาช่วยทำให้ผ่อนหนักให้เป็นเบา พระอาจารย์อาจไม่ได้มานั่งเทศน์อยู่ในตอนนี้ เป็นประสบการณ์ชีวิตที่ต้องใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน จึงนำมาเล่าให้เห็นภาพได้ดี และยังมีอีกหลายต่อหลายเหตุการณ์ที่บุญได้ช่วยพระอาจารย์เอาไว้อย่าน่าอัศจรรย์

เคล็ดลับการทำบุญให้นำมาซึ่งทรัพย์
1. ทำด้วยจิตเมตตา 2. พูดด้วยจิตเมตตา
3. คิดด้วยจิตเมตตา 4. มีลาภแบ่งปัน
5. มีศีลเสมอกัน คือ การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ 6. มีสัมมาทิฏฐิ คือ มีความเห็นชอบ ถูกทำนองครองธรรม

“สีเลนะโภคะสัมปะทา” คือ ศีลนำโภคทรัพย์มาให้ จึงควรรักษาศีลให้บริสุทธิ์เสมอกันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

การนั่งสมาธิ ไม่จำเป็นต้องที่จะต้องมุ่งมั่น ตั้งใจ เอาจริงเอาจังมากจนเกินไป จะทำให้เกิดความเครียดได้ หลักการสำคัญของการนั่งสมาธิ คือ การทำใจใส ๆ การทำบุญทำทานก็เช่นเดียวกัน ต้องทำใจใสๆ มีใจที่บริสุทธิ์ มีความปลื้มปีติ ยินดีทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำทุกครั้ง
เพราะฉะนั้นกฐินคุณยายฯ ปีนี้ อย่าได้คิดว่าปีหน้าเดี๋ยวก็มีกฐินแบบนี้อีก เพราะจะทำให้เสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย เราจะต้องทำใจใสๆทำบุญให้ชนะใจตัวเอง คิดเป้าหมายให้ใหญ่เข้าไว้ เอาบุญเป็นที่ตั้ง และพยายามอย่างไม่มีเงื่อนไข จะทำให้เราเกิดความปลื้ม ปีติ อานิสงค์จะของบุญจะส่งผลรวดเร็วและแรงมาก จะดึงทรัพย์สมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข นำพาสิ่งที่ท่านปรารถนามาให้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ

สรุปพระธรรมเทศนา จากพระอาจารย์ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2553

เรื่อง “อานุภาพดวงแก้ว”
ดวงแก้ว เป็นควอตซ์ชนิดหนึ่ง มีหลายสี แต่ที่นิยม คือ จุยเจียใส เป็นรัตนชาติที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะโปร่งใส ในโลกมนุษย์จะมีลักษณะเป็นเหลี่ยม ส่วนของเทวดาจะมีลักษณะกลมใส
จุยเจีย เป็นภาษาจีน มีความหมายว่า หินที่ความใสเหมือนน้ำ ในภาษากรีก หมายถึง ก้อนน้ำแข็ง
ประเภทของจุยเจีย มี 2 ประเภท คือ
1. จุยเจียใส จะมีลักษณะโปร่งแสง ใสเหมือนน้ำ มีหลายสี เด่นในเรื่องการขับไล่สิ่งชั่วร้าย
2. จุยเจียเข็มทอง จะมีลักษณะเป็นเส้นสีทองอยู่ภายในคล้ายเข็ม ถ้ามีความหนาแน่นของเส้นมากจะเรียกว่า ไหมทอง ช่วยเสริมความมั่งคั่ง
ประโยชน์ของแก้วมณี
1. สามารถปรับสมดุลของร่างกายได้
2. เป็นพลังที่ดีสามารถป้องกันและปัดเป่าสิ่งไม่ดีได้
3. ใช้ในการปฏิบัติธรรมช่วยให้จิตเป็นสมาธิเร็วขึ้น
4. ผู้ทำสมาธิจะเข้าไปพบกับตัวตนของตัวเองขั้นสูงสุดได้ง่าย
อานุภาพดวงแก้วในทางกายภาพ
1. สร้างพลังในการรักษา เพื่อที่จะนำมาใช้ในการล้างสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากร่างกาย
2. ช่วยทำให้คนสองคนสามารถเข้าใจกันได้ดียิ่งขึ้น เมื่ออยู่ด้วยกัน
3. เพิ่มพลังให้แก่หินที่ใช้ในการรักษาโรค
4. เป็นเครื่องส่งพลังงานไปให้แก่คนที่เรารัก โดยวางไว้หน้ารูปถ่ายของคนๆนั้น
5. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ
6. ช่วยบำบัดอาการปวดและอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากโรคภัยได้เร็วขึ้น
อานุภาพดวงแก้วกับวิชชาธรรมกาย
1. ช่วยในการเชื่อมสายสมบัติ บันดาลให้เกิดสมบัติต่าง ๆ โดยดวงแก้วที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 3 นิ้วขึ้นไปจะทำวิชชาได้ดี
2. ช่วยในการเจริญวิชชาสะสางธาตุธรรม
ดวงแก้วกายสิทธ์
สามารถเปล่งแสงเองได้ ไปได้ มาได้ พูดได้ โดยดวงแก้วเปรียบเสมือนเรือนที่อาศัย กายสิทธิ์เป็นผู้อยู่อาศัย ดวงแก้วจะมีอานุภาพมากก็ขึ้นอยู่กับกายสิทธิ์ อาหารของกายสิทธิ์ คือ บุญ เพราะฉะนั้นกายสิทธิ์จะอยู่กับผู้ที่หมั่นสร้างสมบุญ สร้างบารมีอยู่เป็นนิจเท่านั้น
วิธีดูแลรักษา
1. ระวังอย่าให้กระทบกัน
2. เวลาจับต้องล้างมือให้สะอาด เพราะกายสิทธิ์ชอบความสะอาด
3. หมั่นนำมาล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดด้วยผ้านุ่ม ไม่ให้เกิดรอยขูดขีด
4. บูชาด้วยดอกมะลิ
5. หากนำพกติดตัวไปได้ยิ่งดี เพื่อสร้างสัมพันธภาพทางกายและใจ เป็นการเปิดอายตนะรับสิ่งที่เป็นมงคล ช่วยเสริมบารมี ทำสมาธิได้ง่ายขึ้น
6. หมั่นทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และแบ่งบุญให้กายสิทธิ์ด้วย หากไม่มีบุญกายสิทธิ์ก็จะหายไป เพราะกายสิทธิ์จะอยู่กับผู้มีบุญเท่านั้น
วิธีฝึกสมาธิด้วยดวงแก้ว
1. มองดวงแก้วแค่พอจำได้ นึกน้อมดวงแก้วมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด เหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ
2. ภาวนาเบา ๆ ว่า สัมมา อะระหัง ๆ ๆ ๆ ควบคู่ไปกับการนึกดวงแก้วอย่างสบาย ๆ
3. หากใจสงบเห็นดวงแก้วใสสว่างก็ไม่ต้องภาวนา วางใจเบาๆ ตรงกลางดวงแก้วไปเรื่อยๆ
4. เมื่อดวงแก้วใสสว่างดีเช่นนี้แล้ว จะอธิษฐานขออะไรก็สมความปรารถนาทุกประการ
สรุป และเผยแพร่เป็นธรรมทานโดย
กัลฯ กิตติ ไตรรัตน์ และ กัลฯ กิ่งกาญจน์ สุดสังข์ We Success Club

สรุปพระธรรมเทศนา จากพระอาจารย์ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม 2553

เรื่อง “คุณยาย In my heart” โดย พระอาจารย์ พระมหาวรพงษ์
คนมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ กาย (รูป) และ ใจ (นาม) ถ้ามีแต่กายไม่มีใจ ก็คือ “ศพ” แต่ถ้ามีแต่ใจไม่มีกาย ก็คือ “วิญญาณ”
ร่างกายประกอบด้วย ขันธ์ 5 (รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร และ วิญญาณ) ซึ่งขันธ์ 5 เป็นทุกข์ คือ ไม่ได้กินก็เป็นทุกข์, ป่วยก็เป็นทุกข์ ฯลฯ
ถ้าอยากธาตุธรรมบริสุทธิ์ ก็ต้องหมั่นทำทาน, รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา
“ใจ” ของเรามีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ ดวงเห็น, จำ, คิด, รู้ ซ้อนกันอยู่
การรับรู้อารมณ์ต่างๆ มาจาก ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย และใจ ซึ่งมีทั้ง ดี และไม่ดี ถ้าใครที่ได้รับแต่สิ่งที่ดีๆ มากกว่า แสดงว่าสั่งสมบุญมาดีสิ่งที่เราได้สั่งสมในใจเราซ้ำๆ บ่อยๆ ก็จะเป็น “สันดาน” (เป็นคำกลางๆ มีความหมายได้ทั้ง ดี และไม่ดี)

ใจเราปกติมีลักษณะผ่องใส สะอาดบริสุทธิ์ แต่มันจะเปลี่ยนเป็นสีขุ่นมัว เพราะไวรัสที่ฝังอยู่ในใจเรา คือ “กิเลส” นั้นเอง
“ความโลภ” คือ ความอยาก เช่น อยากได้รถใหม่ๆ, อยากได้.... ฯลฯ
“ความโกรธ” คือ อารมณ์ขุ่นมัว, เคือง, เศร้า, เซ็ง, เบื่อ, หงุดหงิด
“ความหลง” คือ ความไม่รู้ความจริง เช่น เชื่อพวกเจ้าทรง ผีสิง ฯลฯ
ไวรัสเหล่านี้จะผ่านเข้ามาในใจเราได้ 6 ทาง คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย และใจ ซึ่งจะส่งผลทั้งทางจิตใจ และรวมไปถึงร่างกายด้วย เช่น เวลาที่มีความโกรธ น้ำเลี้ยงในหัวใจจะเป็นสีเขียว, หากเวลาที่มีความโลภ น้ำเลี้ยงในหัวใจจะเป็นสีแดง เป็นต้น

ใจที่ไม่ได้รับการฝึก จะคิดมาก ฟุ้งซ่านมาก มีความสว่างน้อย แต่ใจที่ฝึกมาดีแล้ว หรือใจที่มีสมาธินั้น จะคิดน้อย ฟุ้งน้อย มีความสว่างมาก
อารมณ์ต่างๆ หรือเหตุต่างๆ ที่เราทำจะถูกเก็บเป็นวิบากกรรม เก็บไว้ที่ศูนย์กลางกาย ซึ่งบางคนก็ใสทั้งหมด บางคนใสบ้างขุ่นบ้าง บางคนมืดทั้งหมดเลย ซึ่งดวงวิบากกรรมเหล่านี้จะถูกเก็บไว้เพื่อรอส่งผล เป็นผังติดตัวเราไป

ซึ่ง “ความตาย” ไม่มีนิมิตหมาย เราจะประมาทไม่ได้ เพราะเราจะมีดวงวิบากกรรมต่างๆ ติดเป็นสายตามมา
ความตายมี 3 ระดับ คือ ตายตามอายุขัย, ตายก่อนอายุขัยเฉลี่ย และ ตายก่อนแก่
ความตายมี 4 ประเภท คือ
1) สิ้นอายุ – สิ้นอายุขัยตามอายุขัยเฉลี่ย
2) สิ้นกรรม – สิ้นอายุเมื่อหมดกำลังบุญ-กรรม
3) สิ้นทั้งอายุ และสิ้นกรรม – สิ้นทั้ง 2 อย่างมาบรรจบกันพอดี
4) กรรมตัดรอน – มีทั้งกรรมที่เป็น กุศล และอกุศล มาตัดรอนให้ต้องเสียชีวิตไป

เหตุให้อายุยืน คือ ทำความสบายแก่ตนเอง, บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย, เที่ยวในกาลสมควร, เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์, ประมาณในสิ่งที่สบาย (ไม่นอนมากไป), รู้ประมาณในการกิน, ประพฤติประเสริฐ, คบมิตรดี, อ่อนน้อมถ่อมตน, ถวายทานวัตถุ, การให้ความคุ้มครองแก่สมณะ, การให้ชีวิตสัตว์เป็นทาน, งดเว้นจากปาณาติบาต และเจริญสมาธิภาวนา

คุณธรรมของคุณยายอาจารย์
สัจจะ คือ จริง (ไม่เล่น), ตรง (ไม่คด), แท้ (ไม่ปลอม) “จริงคำเดียว สำเร็จทุกอย่าง”
คุณยาย ยอมตนเป็นคนใช้เพื่อจะได้มีโอกาสในการศึกษาธรรมะ, คุณยายไปช่วยพ่อจากนรก คุณยายคิดสอนตัวเองได้

“หากไม่มีคุณยาย ก็ไม่มีหลวงพ่อ หากไม่มีหลวงพ่อ ก็ไม่มีวัดพระธรรมกาย หากไม่มีวัดพระธรรมกาย ก็ไม่มีพวกเรา”



สรุป และเผยแพร่เป็นธรรมทานโดย
กัลฯ กิตติ ไตรรัตน์ และ กัลฯ กิ่งกาญจน์ สุดสังข์ We Success Club
สรุปธรรมะจากพระอาจารย์ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2553

คนที่จะเป็นนักปราชญ์ได้ ต้องมี สุ จิ ปุ ริ
สุ – สุตะ แปลว่า ฟัง
จิ – จิตะ แปลว่า ความคิด
ปุ – ปุจฉา แปลว่า ถาม
ลิ – ลิขิต แปลว่า เขียน

ความสุขของฆราวาสหรือคฤหัสถ์ มี 4 ประการ คือ
1. อัฐิสุขัง คือ ความสุขจากการมีทรัพย์ มีเงินทอง
2. โอคะสุขัง คือ สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์
3. อนานะสุขัง คือ สุขจากการไม่มีหนี้
4. อนวัชสุขัง คือ สุขจากการทำงานที่ดี สุจริต

ความสุขของฆราวาสหรือคฤหัสถ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ด้วยบุญรองรับ คือ
การทำทาน คือ การให้ การสงเคราะห์ การเสียสละ อานิสงค์จะทำให้มีเงินทอง มีความสุข เกิดให้ตระกูลสูง ร่ำรวย แต่หากมีความตระหนี่ คือ การไม่รู้จักการให้หรือไม่รู้จักการเสียสละ อนิสงค์จะทำให้มีความจน ขัดสน และยากไร้

หลักธรรมนำชีวิตให้มีแต่ความสุข คือ
1. ทำทานให้เป็นนิจ ทำให้รวย ฐานะมั่นคง ชีวิตดีขึ้น
2. รักษาศีลให้เป็นกิจ มีผิวพรรณวรรณะสดงามผ่องใส
3. ฝึกจิตให้ผ่องใส จะทำให้เกิดปัญญา

คนดีจะทำความชั่วไม่เป็น คนชั่วจะทำความดีไม่เป็น
การทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว ผลของกรรมนั้นจะตามติดตัวเราไปตลอด ทุกหน ทุกแห่ง ข้ามภพ ข้ามชาติ และคอยหาโอกาสส่งผล เพราะฉะนั้นเราจึงควรทำแต่กรรมดี สร้างบุญ บารมี ให้มากๆ บุญจะอยู่ในตัวเราทำให้มีแต่ความสุข

การใช้คำพูด
คำพูด หรือ วาจา มี 2 อย่าง คือ
1. ปิยวาจา คือ คำพูดที่ดี อ่อนหวาน ไพเราะเสนาะหู
2. ครุตวาจา คือ คำพูดที่หยาบคาย พูดสอดเสียด พูดนินทาว่าร้ายผู้อื่น
วาจาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก จึงควรใช้คำพูดที่ดีต่อกัน คือ ปิยวาจา

สรุป และเผยแพร่เป็นธรรมทานโดย
กัลฯ กิตติ ไตรรัตน์ และ กัลฯ กิ่งกาญจน์ สุดสังข์ We Success Club

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทำอย่างไรให้คนรัก (สังคหวัตถุ 4)

1. การให้ (ทานวัตถุ)
ผู้ให้ จะเป็นผู้ได้ตลอดเวลา ให้มองกว้างๆ มองไกลๆ จะพบว่า เมื่อเราให้สิ่งใดไป สิ่งนั้นจะมีมูลค่ามากกว่าที่เราซื้อมา เพราะเมื่อเราเป็นผู้ให้ นอกจากวัตถุที่ให้ไปแล้ว เรายังใส่น้ำใจเข้าไปอีกด้วย ซึ่งนับเป็นมูลค่ามหาศาล
การให้อภัย ปรับที่ใจเรา ก็ถือเป็นการให้ คิดดูว่าแม้กระทั้งตัวเราเอง ตัวเรายังไม่ชอบใจตัวเองทั้งหมดเลย บางครั้งเรายังนึกว่าหรือโทษตัวเองในบางครั้งเลย แล้วคนอื่นจะทำให้เราพอใจทุกเรื่องได้อย่างไร และอย่าแก้ปัญหาด้วยกำลัง
จะให้อภัยได้ จะต้องรู้จักเหตุและผลว่า ทุกคนมีทั้งข้อดีข้อเสีย และแต่ละคนผ่านประสบการณ์มาหลายอย่าง
คนยิ้มแย้ม แจ่มใส คนไปที่ไหน ก็มีแต่คนรัก

2. พูดจาอ่อนหวาน (ปิยะวาจา)
ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ใช้เพียงคำพูดที่กลั่นกรองมาจากใจ ใครรู้จักปรับให้ดี พูดให้ตรงใจพูดรับ
คำพูดมี 2 แบบ
· คำหยาบ คือ คำพูดที่กดใจของผู้ฟังต่ำลง
o คำด่า
o คำประชด (พูดยกนอเกินเหตุ, พูดกระทบจิตใจ)
o คำแดกดัน (พูดเสียดสี)
· คำพูดที่ช่วยยกใจ ผู้ฟังให้สูงขึ้น
ใครที่สามารถพูด และยกใจผู้ฟังให้สูงขึ้นได้ ก็จะเป็นที่รักของ เพราะทุกคนต้องการการให้เกียรติ์ รู้สึกว่าได้รับการ ยกย่อง ยอมรับ “การจะมัดของ เราต้องใช้ของอ่อนมัด ของแข็งมัดไม่อยู่ เช่นเดียวกัน จะมัดใจคนได้ ก็ต้องใช้คำพูดที่อ่อนโยน”
เมื่อเราพูดคำพูดที่ช่วยยกใจคนอื่น มันก็จะช่วยยกใจตัวเองไปด้วย ผิวพรรณดี มีน้ำมีนวล แต่ใครที่พูดกดใจผู้อื่นให้ต่ำลง ตัวของเขาเองก็จะมีใจต่ำลงเช่นกัน

3. ทำตนให้เป็นประโยชน์ (อัตถจริยา)
แบ่ง 2 ประเด็นคือ
· ตัวเราเองต้องทำตัวให้เป็นประโยชน์เสียก่อน เพราะของที่มีประโยชน์ย่อมเป็นที่รักของผู้อื่น
จะฝึกได้ก็ต้อง “มีสติ กำกับกาย กำกับใจ และทำอะไรให้ทำให้เต็มที่ ให้สุดความสามารถ” และเมื่อเราทำอะไรสุดความสามารถแล้ว เมื่อทำครั้งต่อไป มันจะพัฒนาไปได้
· เมื่อเราเป็นคนมีประโยชน์แล้ว ก็ต้องเอาความสามารถสร้างประโยชน์ให้คนอื่นด้วย
หากเราสร้างประโยชน์เพื่อผู้อื่นได้ ก็จะเป็นที่รักของผู้อื่น

4. เป็นผู้วางตัวสมกับฐานะและบทบาทของตัวเอง (สมานัณตตา)
รู้บทบาทหน้าที่ ทำให้สมกับหน้าที่ของตนเอง ทำอะไรให้พอดีๆ จะใส่เสื้อผ้าต้องพอดีตัว จะทำอะไรก็ต้องพอดีตัวเช่นกัน อย่ายกตัวเอง เมื่อเราวางตัวดี มนุษยสัมพันธ์ก็จะดียิ่งขึ้น
ต้องเข้าใจว่าคนแต่ละคนจะมีลักษณะพิเศษของตัวเอง มีความชอบที่แตกต่างกัน เราต้องเข้าใจเขา และปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับจริตของเขา
และต้องพิจารณาด้วยว่าตัวเขาเอง ต้องการให้เราอยู่ในฐานะไหน? เช่นหากคนที่คุณรู้จักเป็นครู เขามีนิสัยชอบสอน เราก็ต้องฟังเขาบ้าง วางตัวให้รู้ว่าเขาต้องารให้เราเป็นอะไร แล้วจะครองใจผู้อื่นได้ ไม่ใช้คิดว่าเราจะทำอะไรก็ได้
เราคือใครฐานะบทบาทแค่ไหน เขาคือใครมีฐานะบทบาทแค่ไหน วางตัวให้เหมาะสม

ทุกความคิดเห็น ถือเป็นขุมทรัพย์ที่มีค่ามหาศาลนะครับ มีข้อมูลเพิ่มเติมข้อเสนอแนะอะไรก็ ร่วมแบ่งปันกันนะครับ

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทำไมคนมีความรู้ ถึงถูกหลอกง่าย....

ทำไมคนมีความรู้ ถึงถูกหลอกง่าย....

หากดูเผินๆ คนที่มีความรู้น่าจะหลอกยาก คนความรู้น้อยน่าจะหลอกง่าย นี้นา

คนมีความรู้ถูกหลอกง่ายจริงหรือ?

ต้องมองความจริงในบางมุม เพราะการตัดสินใจของคนเรา มาจาก 2 อย่าง คือ
1.ตัดสินใจจากความคิด จากหลักตรรกะ การตรองเหตุตรองผล
2.ตัดสินใจจากสิ่งที่ตนสัมผัสได้ จากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต

คนมีความรู้จะมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ จากหลักตรรกะ มากกว่าคนมีความรู้น้อย

การตรองเหตุผลก็อยู่ที่ว่ามีใครชี้นำหรือเปล่า ถ้ามีผู้ชี้นำที่ให้เหตุผลแบบไม่รอบด้าน ให้เพียงบางแง่มุม แต่เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้เหตุผลเหมือนนักโฆษณาชวนเชื่อ คือ ให้เหตุผลบางด้าน เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกดี รู้สึกมีเหตุมีผล ก็จะสามารถคล้อยตามได้ แต่ถ้าเป็นเหตุผลที่ไม่รอบด้านก็อาจกลายเป็นถูกเขาจูงไป

สมมุติมีนักโฆษณาชวนเชื่อที่มีวาทศิลป์ดีมาก มาพูดวิจารณ์นางงามจักรวาลว่า นางงานคนนี้มีติ่งหูไม่สวยเลย เรียวๆ ไม่อิ่ม แล้ววิพากษ์วิจารณ์ตรงติ่งหูไปเรื่อยๆ จนความงามอย่างอื่นลืมหมด คนฟัง ฟังไปๆ รู้สึกว่า นางงามคนนี้เป็นคนที่อัปลักษณ์ที่สุดในโลกเลย
ขณะเดียวกัน เอาคนที่หน้าตาธรรมดามากๆ มาชื่นชมบางจุดว่า ...ดูซิ ผิวตรงนี้เรียบเนียนมาก สุดยอด จนกระทั่งคนฟังค่อยๆ เคลิ้ม เริ่มรู้สึกว่า ผู้หญิงคนนี้เป็นคนที่สวยที่สุด ถ้าคนที่มีวาทศิลป์รู้จักการใช้เหตุผลเป็นเลิศ แต่เป็นเพียงบางแง่มุม ชักจูงจนผู้ฟังคล้อยตามได้ เขาก็สามารถที่จะกล่อมให้คนฟังเห็นว่า ผู้หญิงที่หน้าตาไม่ค่อยดีกลายเป็นคนสวยกว่านางงามจักรวาลได้ ด้วยการให้เหตุผลเพียงแค่บางแง่มุม

ถ้าในชีวิตจริง เราจะต้องเจอคนอย่างนี้อยู่เรื่อยๆ เราจะทำอย่างไร?

มีอย่างเดียวคือ อย่าลืมดูภาพรวม อย่าไปลงแต่รายละเอียดอย่างเดียว เราถึงจะพบความจริง จะตัดสินใจเรื่องอะไรก็ต้องดูว่าหน้าที่หลักคืออะไร โดยภาพรวมข้อดีข้อเสียทั้งหมดเป็นอย่างไร โดยไม่คาดหวังให้ทุกคนต้องงามพร้อมหมด ไม่ยึดเอาแค่มุมใดมุมหนึ่งเป็นตัวตัดสิน อย่างดูตันไม้ ต้องดูให้เห็นทั้งต้น ไม่ใช่ดูแค่ใบ ดูแค่ดอก ดูแค่กิ่งเสี้ยวใดเสี้ยวหนึ่ง แต่ต้องดูให้เห็นภาพรวม เราจึงจะตัดสินได้อย่างรอบด้าน

ในแง่ทางเทคนิค เรื่องทางวิชาการต่างๆ คนมีความรู้มากต้องมีความรู้ที่ดีกว่าคนมีความรู้น้อยเป็นธรรมดา แต่ในบางแง่มุม คนมีความรู้น้อยกลับถูกหลอกได้ยากกว่า เพราะคนมีความรู้มากตัดสินอะไรด้วยหลักตรรกะ พอฟังแล้วมีเหตุผลก็เชื่อตามเขาไป เจอคนที่เป็นนักโฆษณาชวนเชื่อพูดเก่งๆ ก็อาจคล้อยตามเขาได้ แต่คนความรู้น้อย เจาจะตัดสินเรื่องที่ใกล้ตัวเขา ที่มีผลต่อตัวเขาด้วยความจริง ไม่ใช่ด้วยเหตุผล

โดยสรุปคือ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนมีความรู้มาก หรือความรู้น้อยก็ตาม คุณก็อาจเป็นผู้ที่โดนหลอกได้ง่ายๆ หากคุณไม่ได้มองความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจากการ “มองภาพรวม”

สรุปและคัดย่อจากบทความ ทันโลก ทันธรรม โดย พระมหา ดร. สมชาย ฐานวุฑฺโฒ (M.D., Ph.D.) วารสารอยู่ในบุญ