วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

บุญ

หากเราจะต้องตาย!!! ถามว่า... วันนี้เรานึกภาพองค์พระออกไหม?...... บางคนยังบอกว่า “โอ๊ย” รูปสวย กลิ่นหอม เสียงเพราะ รสอร่อย ฯลฯ เมื่อเราใกล้สิ้นอายุขัย... มันไม่ช่วยอะไรเราได้เลย

สิ่งที่เราทุ่มเทแสวงหามาทั้งชีวิต เวลาใกล้ตายมันไม่ได้ช่วยอะไรเลย ไม่ได้เป็นที่พึ่ง ไม่ได้เป็นที่ระลึก แม้จะมี ลูกที่ดี ครอบครัวที่ดี มีอำนาจ มีบริวาร ก็ไม่ใช่ที่พึ่ง เปรียบเสมือนถ้าตัวเราตกลงไปในทะเล จะเกาะฟองน้ำ เกาะเกลียวคลื่น ก็หาใช่ที่พึ่งไม่... จะต้องไปถึงเกาะเท่านั้น เช่นเดียวกัน ที่พึ่งของชีวิตที่แท้จริง คือ “การได้เข้าถึงพระภายใน”

การเข้าถึงพระภายใน หมายถึง บุคคลผู้ถือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ซึ่งจะทำให้เห็นอริยสัจ ว่าเป็นที่พึ่งอันสูงสุด
ถ้าเข้าถึงพระภายใน แม้ใกล้ตายก็ไม่กลัว แต่ถ้ายังไม่เข้าถึง ก็จะต้องมีบุญ เข้ามาช่วย... ก่อนตาย เรานึกถึงบุญออกไหม?
หากจะตายก็ต้องมีบุญช่วย จะไปโลกหน้าก็ต้องมีบุญเพื่อให้มีทรัพย์สมบัติ วิมาน บริวารมากมาย ซึ่งทรัพย์สมบัติต่างๆ ที่เรามีอยู่ ไม่สามารถบรรทุก ขนไปยังโลกหน้าได้เลย ถ้าจะนำไปได้ จะต้องนำมาเปลี่ยนเป็นบุญเท่านั้น จึงจะเป็นสมบัติของเราติดตามตัวไปในโลกหน้า

“บุญ” จะประคับประคองเราไปทุกชาติ แม้แต่ สัตว์นรก เปรต สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหม ก็ต่างต้องการบุญด้วยกันทั้งนั้น
เราเกิดมาสร้างบารมีจริงๆ จะต้องกล้าสร้างบารมี ต้องเอาบุญติดตัวไปมากๆ ทั้ง “ก่อนทำ”, “ขณะทำ” และ “หลังทำ”
“แม้มืดตื้อมืดมิด ก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรม” แต่หาก กินเหล้า นอน ฯลฯอยู่เฉยๆ แล้วมืดตื้อก็ไม่มีทางเข้าถึงธรรมได้ จะเข้าถึงธรรมได้ จะต้องตั้งใจปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้ว แม้มืดตื้อมืดมิดก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรมได้ ทั้งหมดไม่มีใครเสกได้ ต้อง “ทำเอง”

“รสแห่งธรรมเลิศกว่ารสทั้งปวง”.... เราชอบกินอะไรบ้าง? ถ้าให้เรากินของที่เราชอบนั้นเพียงอย่างเดียว กินทุกวัน ไม่กินอย่างอื่นเลยเอาไหม? ไม่นานเราก็คงเบื่อ เพราะมันไม่ใช่รสอันเลิศ แต่ธรรมะนั้น แม้ได้รับเมื่อไหร่ย่อมไม่เบื่อ

ถ้าเรายังเข้าไม่ถึงพระรัตนตรัย ก็ต้องทำบุญไว้ให้มากที่สุด ต้องทำบุญแบบมี วิริยะ (มาจากคำว่า วีระ คือ ความกล้าหาญ ไม่กลัว) คนที่ไม่กล้าบอกบุญคือคนที่กลัว...

ดังนั้นตัวเราจะต้องมีความกล้าที่จะเอาบุญ
หลายๆ คนกล้า และเสียสละเพื่อที่จะทำบาป เราจะทำบุญก็ต้องกล้า ต้องเสียสละเช่นกัน คนที่เขาชวนกินเหล้าเขายังไม่เกรงใจกันเลย เราจะชวนคนทำบุญจะเกรงใจทำไม? เราต้องทำให้ปลื้ม ให้มีความปิติ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับ ปัญจวคีย์ทั้ง 5 ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหมดจงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขของชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ” ซึ่งพระพุทธเจ้าให้ทรงออกเผยแพร่ พระธรรมคำสอนเพราะยังมีคนอีกมากที่ยังมีโอกาสแห่งการได้บรรลุธรรม และหากไม่ออกไปทำหน้าที่ก็จะทำให้เขาเหล่านั้นเสียโอกาส ที่จะทำให้เขาได้บุญที่ควรจะได้ ทำให้เขาเหล่านั้นเสียโอกาสบรรลุธรรมที่เขาควรได้บรรลุเป็นต้น คนที่จะทำบุญมีอยู่แล้วเขารอเราไปหา ถ้าเราไม่ไปเขาก็จะเสียโอกาส บอกบุญให้เต็มที่ กำลังบุญจะได้ใหญ่โต

แค่เราไม่กลัวซะอย่าง... เราก็จะทำได้...
ถามว่ามันยากไหม? ตอบว่า “ใช่”!!!!.................. แต่เราทำได้

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปพระธรรมเทศนา จากพระอาจารย์ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2553

เรื่อง “พลิกวิกฤตชีวิตด้วยบุญ” โดยพระอาจารย์บุญลือ (หัวหน้าศูนย์ฉะเชิงเทรา)
พระอาจารย์เข้าพรรษาที่ 14 ในปีนี้แล้ว โดยพรรษาแรกพระอาจารย์รับพรพระมาว่าจะบวชให้ครบ 10 พรรษา แต่ยังไม่มีศรัทธาเต็มเปี่ยม นั่งสมาธิก็ฟุ้งตลอด เป็นคนชอบลองของ ชอบพูดมากและพูดจาไม่ค่อยเพราะ อยู่มาวันหนึ่งในอารมณ์สบาย ๆ ก็หยิบดวงแก้วมาทำสมาธิ ก็ได้เห็นองค์พระผุดขึ้นมาเป็นสาย สว่างไสว พระอาจารย์รู้สึกดีมาก มีความสุขสุด ๆ ไร้ข้อกังหาใดๆ ในใจอีกเลย จึงตั้งใจจะบวชต่อไปเรื่อยๆ หลังจากนั้นพระอาจารย์ก็ได้ไปทำการขอขมาต่อคุณครูไม่ใหญ่ที่เมื่อก่อนเคยคิดสงสัยในตัวท่าน พอพรรษาที่ 9 จะครบ 10 พรรษาแล้วตามที่เคยรับปาก ก็เริ่มจะมีเหตุให้รู้ตัวว่าจะต้องจากโลกนี้ไปในอีกไม่นานนี้อย่างแน่นอน แต่พอถามตัวเองว่าถ้ามรณภาพตอนนี้เรานึกถึงบุญออกรึยัง โดยคำตอบที่ได้คือพระอาจารย์ยังนึกถึงบุญใหญ่ในชีวิตที่ปลื้มปีติไม่ออกเลย เพราะฉะนั้นจะจากโลกไปตอนนี้ไม่ได้ จะต้องสู้และอยู่ต่อไปเพื่อสร้างบุญใหญ่ สร้างบารมีให้มากๆ ให้ได้ก่อน เมื่อตัดสินใจได้แล้ว พระอาจารย์ใช้เวลาครึ่งปีในการเก็บหอมรอมริบเพื่อสร้างพระธรรมกายประจำตัวองค์แรกสำเร็จในปี 2549 และก็ตั้งใจจะสร้างเพิ่มอีกทุกเดือนปัจจัยไม่เอื้ออำนวย แต่ก็ไม่ย่อท้อ เมื่อพระอาจารย์ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่เข้าไว้แล้ว เอาบุญเป็นที่ตั้ง พยายามจนทำให้ได้ จนในที่สุดสำเร็จเป็นอัศจรรย์ ตอนนี้พระอาจารย์สร้างพระธรรมกายประจำตัวไปแล้วทั้งหมด 80 องค์ เป็นเจ้าภาพเลี้ยงข้าวพระเดือนละ 5,000 บาท จำนวน 1,000 รูป บุญที่พระอาจารย์สร้างมาเหล่านี้ได้ช่วยให้พระอาจารย์รอดพ้นจากวิกฤตชีวิตหลายครั้ง

ตัวอย่างเช่น

เหตุการณ์ที่ 1 รถตู้พลิกคว่ำ โดยในรถนอกจากคนขับและคนนั่งข้างคนขับแล้ว พระอาจารย์ไล่คนอื่นลงจากรถไปหมด จึงมีเพียงพระอาจารย์รูปเดียวที่นั่งอยู่ในรถตู้ด้านหลังคันนั้น แรงอัดจากอุบัติเหตุทำให้รถตู้ด้านข้างทั้งสองข้างและด้านล่างยุบตัวเข้ามาหาพระอาจารย์ ทำให้ได้รับบาดเจ็บจนต้องไปให้หมอจัดเรียงกระดูกต้นคอให้เป็นประจำ ส่วนสองคนที่นั่งข้างหน้ารถไม่เป็นอะไรเลย เพราะทั้งคู่คาดเข็มขัดนิรภัยไว้ด้วย แต่อย่างไรเมื่อดูจากสภาพรถแล้ว พระอาจารย์ก็รอดชีวิตมาได้อย่างน่าอัศจรรย์

เหตุการณ์ที่ 2 ไฟไหม้จีวรและต้นขาของพระอาจารย์ เหตุเกิดขึ้นเพราะความประมาทและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตอนนั้นกำลังจะจุดไฟทำโคมยี่เป็ง แต่พระอาจารย์ไปเร่งเครื่องทำให้เกิดความร้อนทั่วบริเวณที่พระอาจารย์ยืนอยู่ เมื่อจุดไฟจึงเกิดประกายไฟอย่างฉับพลัน ทำให้ไฟไหม้อย่างรวดเร็ว และลุกไหม้จีวรจนต้องเปลื้องจีวรออกและรีบใช้ผ้าดับไฟ จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้พระอาจารย์เดินไม่ได้จนต้องนั่งรถเข็นไปหลายเดือน เนื่องจากหนังกำพร้าที่เท้าหลุดลอกออกเพราะไฟลวก และปัจจุบันนี้ก็ยังมีรอยแผลให้เห็นเป็นเครื่องย้ำเตือนให้มีสติและอย่าประมาทอยู่ตลอดเวลา

หากไม่มีบุญที่ได้สั่งสมมาช่วยทำให้ผ่อนหนักให้เป็นเบา พระอาจารย์อาจไม่ได้มานั่งเทศน์อยู่ในตอนนี้ เป็นประสบการณ์ชีวิตที่ต้องใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน จึงนำมาเล่าให้เห็นภาพได้ดี และยังมีอีกหลายต่อหลายเหตุการณ์ที่บุญได้ช่วยพระอาจารย์เอาไว้อย่าน่าอัศจรรย์

เคล็ดลับการทำบุญให้นำมาซึ่งทรัพย์
1. ทำด้วยจิตเมตตา 2. พูดด้วยจิตเมตตา
3. คิดด้วยจิตเมตตา 4. มีลาภแบ่งปัน
5. มีศีลเสมอกัน คือ การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ 6. มีสัมมาทิฏฐิ คือ มีความเห็นชอบ ถูกทำนองครองธรรม

“สีเลนะโภคะสัมปะทา” คือ ศีลนำโภคทรัพย์มาให้ จึงควรรักษาศีลให้บริสุทธิ์เสมอกันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

การนั่งสมาธิ ไม่จำเป็นต้องที่จะต้องมุ่งมั่น ตั้งใจ เอาจริงเอาจังมากจนเกินไป จะทำให้เกิดความเครียดได้ หลักการสำคัญของการนั่งสมาธิ คือ การทำใจใส ๆ การทำบุญทำทานก็เช่นเดียวกัน ต้องทำใจใสๆ มีใจที่บริสุทธิ์ มีความปลื้มปีติ ยินดีทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำทุกครั้ง
เพราะฉะนั้นกฐินคุณยายฯ ปีนี้ อย่าได้คิดว่าปีหน้าเดี๋ยวก็มีกฐินแบบนี้อีก เพราะจะทำให้เสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย เราจะต้องทำใจใสๆทำบุญให้ชนะใจตัวเอง คิดเป้าหมายให้ใหญ่เข้าไว้ เอาบุญเป็นที่ตั้ง และพยายามอย่างไม่มีเงื่อนไข จะทำให้เราเกิดความปลื้ม ปีติ อานิสงค์จะของบุญจะส่งผลรวดเร็วและแรงมาก จะดึงทรัพย์สมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข นำพาสิ่งที่ท่านปรารถนามาให้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ

สรุปพระธรรมเทศนา จากพระอาจารย์ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2553

เรื่อง “อานุภาพดวงแก้ว”
ดวงแก้ว เป็นควอตซ์ชนิดหนึ่ง มีหลายสี แต่ที่นิยม คือ จุยเจียใส เป็นรัตนชาติที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะโปร่งใส ในโลกมนุษย์จะมีลักษณะเป็นเหลี่ยม ส่วนของเทวดาจะมีลักษณะกลมใส
จุยเจีย เป็นภาษาจีน มีความหมายว่า หินที่ความใสเหมือนน้ำ ในภาษากรีก หมายถึง ก้อนน้ำแข็ง
ประเภทของจุยเจีย มี 2 ประเภท คือ
1. จุยเจียใส จะมีลักษณะโปร่งแสง ใสเหมือนน้ำ มีหลายสี เด่นในเรื่องการขับไล่สิ่งชั่วร้าย
2. จุยเจียเข็มทอง จะมีลักษณะเป็นเส้นสีทองอยู่ภายในคล้ายเข็ม ถ้ามีความหนาแน่นของเส้นมากจะเรียกว่า ไหมทอง ช่วยเสริมความมั่งคั่ง
ประโยชน์ของแก้วมณี
1. สามารถปรับสมดุลของร่างกายได้
2. เป็นพลังที่ดีสามารถป้องกันและปัดเป่าสิ่งไม่ดีได้
3. ใช้ในการปฏิบัติธรรมช่วยให้จิตเป็นสมาธิเร็วขึ้น
4. ผู้ทำสมาธิจะเข้าไปพบกับตัวตนของตัวเองขั้นสูงสุดได้ง่าย
อานุภาพดวงแก้วในทางกายภาพ
1. สร้างพลังในการรักษา เพื่อที่จะนำมาใช้ในการล้างสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากร่างกาย
2. ช่วยทำให้คนสองคนสามารถเข้าใจกันได้ดียิ่งขึ้น เมื่ออยู่ด้วยกัน
3. เพิ่มพลังให้แก่หินที่ใช้ในการรักษาโรค
4. เป็นเครื่องส่งพลังงานไปให้แก่คนที่เรารัก โดยวางไว้หน้ารูปถ่ายของคนๆนั้น
5. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ
6. ช่วยบำบัดอาการปวดและอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากโรคภัยได้เร็วขึ้น
อานุภาพดวงแก้วกับวิชชาธรรมกาย
1. ช่วยในการเชื่อมสายสมบัติ บันดาลให้เกิดสมบัติต่าง ๆ โดยดวงแก้วที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 3 นิ้วขึ้นไปจะทำวิชชาได้ดี
2. ช่วยในการเจริญวิชชาสะสางธาตุธรรม
ดวงแก้วกายสิทธ์
สามารถเปล่งแสงเองได้ ไปได้ มาได้ พูดได้ โดยดวงแก้วเปรียบเสมือนเรือนที่อาศัย กายสิทธิ์เป็นผู้อยู่อาศัย ดวงแก้วจะมีอานุภาพมากก็ขึ้นอยู่กับกายสิทธิ์ อาหารของกายสิทธิ์ คือ บุญ เพราะฉะนั้นกายสิทธิ์จะอยู่กับผู้ที่หมั่นสร้างสมบุญ สร้างบารมีอยู่เป็นนิจเท่านั้น
วิธีดูแลรักษา
1. ระวังอย่าให้กระทบกัน
2. เวลาจับต้องล้างมือให้สะอาด เพราะกายสิทธิ์ชอบความสะอาด
3. หมั่นนำมาล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดด้วยผ้านุ่ม ไม่ให้เกิดรอยขูดขีด
4. บูชาด้วยดอกมะลิ
5. หากนำพกติดตัวไปได้ยิ่งดี เพื่อสร้างสัมพันธภาพทางกายและใจ เป็นการเปิดอายตนะรับสิ่งที่เป็นมงคล ช่วยเสริมบารมี ทำสมาธิได้ง่ายขึ้น
6. หมั่นทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และแบ่งบุญให้กายสิทธิ์ด้วย หากไม่มีบุญกายสิทธิ์ก็จะหายไป เพราะกายสิทธิ์จะอยู่กับผู้มีบุญเท่านั้น
วิธีฝึกสมาธิด้วยดวงแก้ว
1. มองดวงแก้วแค่พอจำได้ นึกน้อมดวงแก้วมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด เหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ
2. ภาวนาเบา ๆ ว่า สัมมา อะระหัง ๆ ๆ ๆ ควบคู่ไปกับการนึกดวงแก้วอย่างสบาย ๆ
3. หากใจสงบเห็นดวงแก้วใสสว่างก็ไม่ต้องภาวนา วางใจเบาๆ ตรงกลางดวงแก้วไปเรื่อยๆ
4. เมื่อดวงแก้วใสสว่างดีเช่นนี้แล้ว จะอธิษฐานขออะไรก็สมความปรารถนาทุกประการ
สรุป และเผยแพร่เป็นธรรมทานโดย
กัลฯ กิตติ ไตรรัตน์ และ กัลฯ กิ่งกาญจน์ สุดสังข์ We Success Club

สรุปพระธรรมเทศนา จากพระอาจารย์ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม 2553

เรื่อง “คุณยาย In my heart” โดย พระอาจารย์ พระมหาวรพงษ์
คนมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ กาย (รูป) และ ใจ (นาม) ถ้ามีแต่กายไม่มีใจ ก็คือ “ศพ” แต่ถ้ามีแต่ใจไม่มีกาย ก็คือ “วิญญาณ”
ร่างกายประกอบด้วย ขันธ์ 5 (รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร และ วิญญาณ) ซึ่งขันธ์ 5 เป็นทุกข์ คือ ไม่ได้กินก็เป็นทุกข์, ป่วยก็เป็นทุกข์ ฯลฯ
ถ้าอยากธาตุธรรมบริสุทธิ์ ก็ต้องหมั่นทำทาน, รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา
“ใจ” ของเรามีองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ ดวงเห็น, จำ, คิด, รู้ ซ้อนกันอยู่
การรับรู้อารมณ์ต่างๆ มาจาก ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย และใจ ซึ่งมีทั้ง ดี และไม่ดี ถ้าใครที่ได้รับแต่สิ่งที่ดีๆ มากกว่า แสดงว่าสั่งสมบุญมาดีสิ่งที่เราได้สั่งสมในใจเราซ้ำๆ บ่อยๆ ก็จะเป็น “สันดาน” (เป็นคำกลางๆ มีความหมายได้ทั้ง ดี และไม่ดี)

ใจเราปกติมีลักษณะผ่องใส สะอาดบริสุทธิ์ แต่มันจะเปลี่ยนเป็นสีขุ่นมัว เพราะไวรัสที่ฝังอยู่ในใจเรา คือ “กิเลส” นั้นเอง
“ความโลภ” คือ ความอยาก เช่น อยากได้รถใหม่ๆ, อยากได้.... ฯลฯ
“ความโกรธ” คือ อารมณ์ขุ่นมัว, เคือง, เศร้า, เซ็ง, เบื่อ, หงุดหงิด
“ความหลง” คือ ความไม่รู้ความจริง เช่น เชื่อพวกเจ้าทรง ผีสิง ฯลฯ
ไวรัสเหล่านี้จะผ่านเข้ามาในใจเราได้ 6 ทาง คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย และใจ ซึ่งจะส่งผลทั้งทางจิตใจ และรวมไปถึงร่างกายด้วย เช่น เวลาที่มีความโกรธ น้ำเลี้ยงในหัวใจจะเป็นสีเขียว, หากเวลาที่มีความโลภ น้ำเลี้ยงในหัวใจจะเป็นสีแดง เป็นต้น

ใจที่ไม่ได้รับการฝึก จะคิดมาก ฟุ้งซ่านมาก มีความสว่างน้อย แต่ใจที่ฝึกมาดีแล้ว หรือใจที่มีสมาธินั้น จะคิดน้อย ฟุ้งน้อย มีความสว่างมาก
อารมณ์ต่างๆ หรือเหตุต่างๆ ที่เราทำจะถูกเก็บเป็นวิบากกรรม เก็บไว้ที่ศูนย์กลางกาย ซึ่งบางคนก็ใสทั้งหมด บางคนใสบ้างขุ่นบ้าง บางคนมืดทั้งหมดเลย ซึ่งดวงวิบากกรรมเหล่านี้จะถูกเก็บไว้เพื่อรอส่งผล เป็นผังติดตัวเราไป

ซึ่ง “ความตาย” ไม่มีนิมิตหมาย เราจะประมาทไม่ได้ เพราะเราจะมีดวงวิบากกรรมต่างๆ ติดเป็นสายตามมา
ความตายมี 3 ระดับ คือ ตายตามอายุขัย, ตายก่อนอายุขัยเฉลี่ย และ ตายก่อนแก่
ความตายมี 4 ประเภท คือ
1) สิ้นอายุ – สิ้นอายุขัยตามอายุขัยเฉลี่ย
2) สิ้นกรรม – สิ้นอายุเมื่อหมดกำลังบุญ-กรรม
3) สิ้นทั้งอายุ และสิ้นกรรม – สิ้นทั้ง 2 อย่างมาบรรจบกันพอดี
4) กรรมตัดรอน – มีทั้งกรรมที่เป็น กุศล และอกุศล มาตัดรอนให้ต้องเสียชีวิตไป

เหตุให้อายุยืน คือ ทำความสบายแก่ตนเอง, บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย, เที่ยวในกาลสมควร, เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์, ประมาณในสิ่งที่สบาย (ไม่นอนมากไป), รู้ประมาณในการกิน, ประพฤติประเสริฐ, คบมิตรดี, อ่อนน้อมถ่อมตน, ถวายทานวัตถุ, การให้ความคุ้มครองแก่สมณะ, การให้ชีวิตสัตว์เป็นทาน, งดเว้นจากปาณาติบาต และเจริญสมาธิภาวนา

คุณธรรมของคุณยายอาจารย์
สัจจะ คือ จริง (ไม่เล่น), ตรง (ไม่คด), แท้ (ไม่ปลอม) “จริงคำเดียว สำเร็จทุกอย่าง”
คุณยาย ยอมตนเป็นคนใช้เพื่อจะได้มีโอกาสในการศึกษาธรรมะ, คุณยายไปช่วยพ่อจากนรก คุณยายคิดสอนตัวเองได้

“หากไม่มีคุณยาย ก็ไม่มีหลวงพ่อ หากไม่มีหลวงพ่อ ก็ไม่มีวัดพระธรรมกาย หากไม่มีวัดพระธรรมกาย ก็ไม่มีพวกเรา”



สรุป และเผยแพร่เป็นธรรมทานโดย
กัลฯ กิตติ ไตรรัตน์ และ กัลฯ กิ่งกาญจน์ สุดสังข์ We Success Club
สรุปธรรมะจากพระอาจารย์ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2553

คนที่จะเป็นนักปราชญ์ได้ ต้องมี สุ จิ ปุ ริ
สุ – สุตะ แปลว่า ฟัง
จิ – จิตะ แปลว่า ความคิด
ปุ – ปุจฉา แปลว่า ถาม
ลิ – ลิขิต แปลว่า เขียน

ความสุขของฆราวาสหรือคฤหัสถ์ มี 4 ประการ คือ
1. อัฐิสุขัง คือ ความสุขจากการมีทรัพย์ มีเงินทอง
2. โอคะสุขัง คือ สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์
3. อนานะสุขัง คือ สุขจากการไม่มีหนี้
4. อนวัชสุขัง คือ สุขจากการทำงานที่ดี สุจริต

ความสุขของฆราวาสหรือคฤหัสถ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ด้วยบุญรองรับ คือ
การทำทาน คือ การให้ การสงเคราะห์ การเสียสละ อานิสงค์จะทำให้มีเงินทอง มีความสุข เกิดให้ตระกูลสูง ร่ำรวย แต่หากมีความตระหนี่ คือ การไม่รู้จักการให้หรือไม่รู้จักการเสียสละ อนิสงค์จะทำให้มีความจน ขัดสน และยากไร้

หลักธรรมนำชีวิตให้มีแต่ความสุข คือ
1. ทำทานให้เป็นนิจ ทำให้รวย ฐานะมั่นคง ชีวิตดีขึ้น
2. รักษาศีลให้เป็นกิจ มีผิวพรรณวรรณะสดงามผ่องใส
3. ฝึกจิตให้ผ่องใส จะทำให้เกิดปัญญา

คนดีจะทำความชั่วไม่เป็น คนชั่วจะทำความดีไม่เป็น
การทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว ผลของกรรมนั้นจะตามติดตัวเราไปตลอด ทุกหน ทุกแห่ง ข้ามภพ ข้ามชาติ และคอยหาโอกาสส่งผล เพราะฉะนั้นเราจึงควรทำแต่กรรมดี สร้างบุญ บารมี ให้มากๆ บุญจะอยู่ในตัวเราทำให้มีแต่ความสุข

การใช้คำพูด
คำพูด หรือ วาจา มี 2 อย่าง คือ
1. ปิยวาจา คือ คำพูดที่ดี อ่อนหวาน ไพเราะเสนาะหู
2. ครุตวาจา คือ คำพูดที่หยาบคาย พูดสอดเสียด พูดนินทาว่าร้ายผู้อื่น
วาจาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก จึงควรใช้คำพูดที่ดีต่อกัน คือ ปิยวาจา

สรุป และเผยแพร่เป็นธรรมทานโดย
กัลฯ กิตติ ไตรรัตน์ และ กัลฯ กิ่งกาญจน์ สุดสังข์ We Success Club